ความรู้เพิ่มเติม


สาวัตถี (Sravastl) หรือที่ยาวอินเดียในปัจจุบันเรียกว่า  สะเหต มะเหต (Saheth – Maheth) เป็นที่หนึ่งในบรรดาเมืองที่สำคัญที่สุดในมัยพุทธกาล  และเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับอย่างยาวนานที่สุดถึง ๒๕ พรรษา (๑๙ พรรษาที่เชตะวันมหาวิหาร  และ ๖ พรรษาที่         วัดบุพพาราม)
                เมืองสาวัตถีในทุกวันนี้ยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญเมื่อสมัยพุทธกาลปรากฏอยู่ เช่น ซากคฤหาสน์ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี  สถานที่ที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ  ซากยมกปาฏิหาริย์สถูปและเชตะวันมหาวิหาร  (พระอารามแห่งแรกในพระพุทธศาสนา) ซึ่งเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องมงคล ๓๘ ประการประทานพระอานนท์  และยังมีวัดที่ประเทศต่างๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนามาสร้างไว้อีกหลายวัด
                เชตะวันมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือ แม่น้ำอจิรวดี นอกกำแพงมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ ๑ กิโลกเมตร ถือเป็นพระอารามที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยพุทธกาล  เนื่องด้วยเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอย่างยาวนานถึง ๑๙ พรรษา
                แต่เดิมเมื่ออนาถบัณฑิกเศรษฐีมองหาสถานที่ที่จะสร้างพระอารามเพื่อถวายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าที่เมืองสาวัตถี  ได้พบสวนของเจ้าเชตซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมจึงขอเจรจาซื้อ แต่เจ้าเชตไม่อยากขาย  จึงโก่งราคาด้วยการขอให้อนาถบิณฑิกเศรษฐีนำกหาปณะ (มาตราเงินในสมัยโบราณ ๑ กหาปณะ เท่า ๒๐ มาสก หรือ ๔ บาท) มาปูให้เต็มพื้นที่ จึงจะเท่ากับราคาของสวนนี้อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงสั่งให้บริวารขนกหาปณะจากคลังมาปูที่พื้นทันที เมื่อปูได้ครึ่งหนึ่งของเนื้อที่ซึ่งทำให้หมดเงินไปจำนวน ๑๘ โกฏิ (๑ โกฏิ เท่ากับ ๑๐ ล้าน) เจ้าเชตจึงสั่งให้หยุดพร้อมกับบอกขายสวนด้วยราคาเท่านี้ ส่วนที่เหลือ เจ้าเชตจะขอมีส่วนด้วย ทั้งสองจึงร่วมกันสร้างพระอารามแห่งนี้จนสำเร็จและตั้งชื่อว่า เชตะวัน ซึ่งมีความหมายว่า สวนของเจ้าเชต เพื่อเป็นอนุสรณ์แต่เจ้าของสวน
                ปัจจุบันเชตะวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน  ที่ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี  จึงทำให้มีผู้เดินทางมาจาริกแสวงบุญเป็นประจำ  ซึ่งสถานที่สำคัญที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปนมัสการ ได้แก่ มูลคันธกุฎี หรือสถานที่ประทับจำพรรษาของพระพระพุทธเจ้า อานันทโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ที่ปลูกโดยพระอานนท์ในสมัยพุทธกาล หมู่กุฏิพระสาวก เช่น กุฏิพระสารีบุตร พระอานนท์ พระองคุลิมาล และ พระสีวลี เป็นต้น
                พระอานนท์เถระ  เป็นพระมหาสาวกรูปหนึ่งในอสีติมหาสาวก  ท่านเป็นพระโอรสในพระเจ้าสุกโกทนะและพระนางสีกาโคตรมี  ได้เสด็จออกผนวชตามพระพุทธเจ้าพร้อมกับเจ้าชายศากยะทั้หลาย หลังจากท่านอุปสมบทแล้วได้ฟังโอวาทที่พระปุณณมันตานีปุตรเถระกล่าวสอน จึงสำเร็จพระโสดาปัตติผล และได้สำเร็จพระอรหัตผลหลังพุทธปรินิพานก่อนการทำปฐมสังคายนาพระไตรปิฎก
                พระอานนท์ได้รับเลือกจากคณะสงฆ์ให้ทำหน้าที่เป็นผูอุปัฏฐากประจำองค์พระพุทธเจ้าแต่ก่อนที่ท่านจะรับหน้าที่พุทธอุปัฏฐากนั้นได้ทูลขอพร ๘ ประการจากพระพุทธเจ้า ดังต่อไปนี้
๑.      อย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๒.    อย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
๓.     อย่าโปรดให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
๔.     อย่าทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
๕.     ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับเขาไว้
๖.      ขอให้ข้าพระองค์ได้พาพุทธบริษัทซึ่งมาแต่ที่ไกลเข้าเฝ้าพระองค์ในขณะที่มาได้ทันที
๗.     ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใด ขอให้เข้าเฝ้าทูลถามพระองค์ได้เมื่อนั้น
๘.     ถ้าพระองค์ทรงแสดงธรรมเรื่องใดในที่ลับหลังข้าพระองค์  ขอพระองค์มาตรัสบอกธรรมเทศนารื่องนั้นแกข้าพระองค์
พระอานนท์ที่ได้เป็นผู้อุปัฏฐากประจำพระพุทธองค์ตั้งแต่กาลนั้นเป็นต้นมา  ท่านเป็นผู้มี
สติปัญญาทรงจำพระธรรมวินัยได้ดี  เฝ้าอุปัฏฐากโดยเอื้อเฟื้อและมีความจงรักภักดีในพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง