วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์

"...คนที่ไม่มีความสุจริต คนที่ไม่มีความ มั่นคง ชอบแต่มักง่ายไม่มีวันจะ สร้างสรรค์ประโยชน์ส่วนรวมที่สำคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริตและความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทำงานสำคัญยิ่งใหญ่ที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์แท้จริงได้สำเร็จ..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๒๒

"...ความซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความ ดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมี ประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคง..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานเนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ปี ๒๕๓๑

"...ผู้ที่ทีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้ จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้ แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความ รู้มากแต่ไม่มีความสุจริตไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..."

                                                                                                               ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะคณาจารย์โรงเรียนต่างๆ
ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓

"...การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย..."
                                                                                                             ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
พระราชทานแก่นิสิตที่สำเร็จการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙

"...ทุกคนในชาติมีหน้าที่ของตัว และถ้า แต่ละคนทำให้ได้อย่างเข้มแข็ง ซื่อสัตย์ สุจริต ประเทศชาติก็ย่อมต้องปลอดภัย และก้าวหน้าไปอย่างดี..."

ความตอนหนึ่ง ในพระราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ในโอกาสวันเฉลิมประชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓

"...ความเจริญนั้นจะเกิดขึ้นได้ ย่อมต้อง อาศัยเหตุปัจจัยประกอบกันหลายอย่าง นอก จากวิทยาการที่ดีแล้ว จะต้องอาศัยความยุติธรรมเที่ยงตรง และความสะอาดสุจริต ซึ่งต้องเป็นไป พร้อมทั้งในความคิดและการกระทำ..."


ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
วันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘

"...การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนา คือที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรม ประกอบด้วย..."
ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร
วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๒๐

"...เมื่อคิดเรื่องใดสิ่งใดต้องทำใจ ให้มั่นคงเป็นกลาง มีเหตุมีผล ความจริงใจและสุจริตเที่ยงธรรม เพื่อความคิดจักได้กระจ่างแน่วแน่ เห็นถึงจุดหมายและประโยชน์ที่แท้ ของภารกิจของตน อย่างถูกต้องครบ ถ้วนมีอิสรภาพ..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๓

"...การที่จะประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร และความซื่อสัตย์เป็นรากฐานสำคัญ ประกอบกับจะต้องเป็นผู้มีจิตใจเมตตา กรุณา ไม่เบียดเบียนผู้อื่นและย่อมที่จะ บำเพ็ญประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมตามโอกาส อีกด้วย..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๙๙

"...คนเราถ้าพอในความต้องการ มันก็มีความ โลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อยก็เบียดเบียน คนอื่นน้อยถ้ามีความคิดอันนี้ มีความ คิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง หมายความว่าพอ ประมาณซื่อตรง ไม่โลภอย่างมากคนเราก็อยู่เป็นสุข..."

ความตอนหนึ่ง ในพระราดำรัส
พระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ ศาลาดุสิตาลัย
วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

"...ผู้ที่มีที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามสิ่งที่ ยึดมั่นนั้นคือ ความดีเป็นผู้ที่เจริญ เพราะว่าคนเราถ้าทำงานอะไร ไม่มีความคิดที่แจ่มใส ไม่มีความ คิดที่บริสุทธิ์ไม่สามรถที่ปฏิบัติงานได้เป็น ผลสำเร็จที่ดีงามและยั่งยืน..."

ความตอนหนึ่ง ในพระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ณ สวนอัมพร
วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๒

"...คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคน นั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็น แก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นความ ไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ เป็นพิเศษ คือความขยันหมั่นเพียรด้านความซื่อสัตย์สุจริต...

ขอขอบคุณที่มา http://thn21625thai.blogspot.com/

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาคเรียนที่ 2 วิชา ท31102 ภาษาไทย


ตัวชี้วัด
1. อ่านออกเสียงร้อยแก้ว ร้อยกรองได้ไพเราะถูกต้อง
2. ตีความ แปลความและขยายความได้
3. วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องที่อ่านได้
4. ประเมินค่าเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
5. แสดงความคิดเห็นโต้แย้งเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล
6. ตอบคำถามเรื่องที่อ่านได้
7. มีมารยาทในการอ่าน
8. เขียนสื่อสารในรูปแบบต่างๆได้
9. เขียนเรียงความได้
10. เขียนย่อความได้
11. ผลิตงานเขียนของตนเองในรูแแบบต่างๆได้
12. ประเมินผลงานของผู้อื่นเพื่อนำมาพัฒนางานของตนเองได้
13. เขียนรายงานเชิงวิชาการได้
14. บันทึกการค้นคว้า เพื่อพัฒนาตนเองได้
15. มีมารยาทในการเขียน
16. ประเมินเรื่องที่ฟัง และดูและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
17. มีวิจารณญาณเลือกเรื่องที่ฟังและดู
18. พูดในโอกาสต่างๆได้
19. มีมารยาทในการฟัง การดู การพูด
20.แต่งบทร้อยกรองได้
21. วิเคาระห์อิทธิพลภาษาต่างประเทศและภาษาอื่นได้
22. อธิบายและวิเคาราะห์หลักการสร้างคำในภาษาไทยได้
23. วิเคราะห์แลประเมินการใช้ภาษาในสื่อต่างๆได้
24 วิเคราะห์และวิจารร์วรรณคดีในวรรณกรรมได้
25. วิเคราะห์ลักษณะเด่นของวรรณคดี เชื่อมโยงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้
26. ประเมินค่าวรรณศิลป์ วรรณคดี วรรณกรรมได้
27. สังเคราะห์ข้อคิด วรรณคดีและวรรณกรรมนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
28. ท่องอาขยานที่มีคุณค่าได้